อาการท้องผูก โรคร้ายกวนใจ ที่ใกล้ตัวคุณมากกว่าที่คิด

อาการท้องผูก โรคร้ายกวนใจ ที่ใกล้ตัวคุณมากกว่าที่คิด

ปัญหาการขับถ่ายเป็นเรื่องที่ใคร ๆ ก็ไม่อยากเจอ ซึ่งปัญหานี้ มีตั้งแต่ ท้องเสีย , ท้องผูก หรือปวดภายใน โดยอาการตั้งๆ จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันทั้งสิ้น ส่งผลให้เป็นโรคที่คนส่วนใหญ่กังวลมากที่สุด โดยเฉพาะอาการท้องผูก ที่สร้างความทรมานให้กับผู้ที่เป็นจริ งๆ เพราะไม่สามารถขับถ่ายได้เป็นปกติ อีกทั้งยังมีอาการปวดท้องตลอดเวลา ยิ่งหากปล่อยไว้ไม่ได้รักษา ก็จะทำให้มีอาการเรื้อรัง และยากที่จะแก้ไขได้ ดังนั้น ลองมาทำความรู้จักอาการท้องผูกให้มากขึ้น เพื่อเตรียมวิธีการรับมือได้ทัน

อาการท้องผูก ปัญหาที่คนส่วนใหญ่ไม่อยากเจอ

“ท้องผูก” เป็นโรคยอดฮิตของคนไทย มีงานศึกษาที่พบว่า ร้อยละ 24 ของคนไทย มีปัญหาเกี่ยวกับอาการท้องผูก และคิดเป็นร้อยละ 8 ที่มีปัญหาเบ่งอุจจาระลำบาก และร้อยละ 3 ถ่ายอุจจาระได้น้อยกว่า 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะบอกว่า ท้องผูกเป็นอาการที่คอยกวนใจอย่างแท้จริง และจัดเป็นปัญหาสุขภาพรูปแบบหนึ่งที่ต้องได้รับการดูแลที่ถูกต้อง แม้อาการท้องผูกจะไม่อันตรายถึงชีวิต แต่ก็ส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิต

ยิ่งคนที่มีอาการท้องผูกรุนแรง หรือท้องผูกแบบเรื้อรังนานกว่า 1 เดือน ก็ทำให้อวัยวะภายในเกิดปัญหาได้ แต่ในปัจจุบันอาการท้องผูกส่วนใหญ่มักจะได้รับการละเลย เนื่องจาก เห็นว่า เป็นปัญหาที่ไม่ฉุกเฉิน และรุนแรง ส่วนใหญ่ของผู้ที่มีอาการท้องผูกจะตรวจไม่พบโรคทางกาย มีเพียงส่วนน้อยที่จะพบสาเหตุ ผู้ที่ท้องผูกเรื้อรังที่ไม่มีอาการผิดปกติ มีโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักไม่ต่างจากคนปกติในวัยเดียวกันด้วย ถือเป็นโรคที่ไม่ควรมองข้าม

ท้องผูกคืออะไร

อาการท้องผูก หมายถึง ภาวะที่มีความถี่ในการถ่ายอุจจาระน้อยกว่าปกติ โดยคนปกติจะถ่ายอุจจาระตั้งแต่วันละ 3 ครั้ง ถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ดังนั้น ใครที่ถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ถือว่า ระบบขับถ่ายผิดปกติ โดยอาการท้องผูกจะสัมพันธ์กับอาการถ่ายอุจจาระลำบาก ใช้เวลาเบ่งนานกว่าปกติ หรือมีอาการเจ็บตอนถ่าย ยิ่งใครที่มีอาการท้องผูกนานเกิน 3 เดือน ถือว่ามีอาการท้องผูกเรื้อรัง และควรรับการรักษาอย่างเร่งด่วน

หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัย อาการท้องผูก มีดังนี้

  1. ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
  2. ต้องเบ่งมากกว่าปกติ
  3. อุจจาระเป็นก้อนแข็ง
  4. รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด
  5. มีความรู้สึกว่าถ่ายไม่ออก เนื่องจาก มีสิ่งอุดกั้นบริเวณทวารหนัก
  6. ต้องใช้นิ้วมือช่วยในการถ่ายอุจจาระ

หากคุณมีอาการมากกว่า 2 ข้อขึ้นไป และเป็นนานกว่า 3 เดือน และเริ่มมีอาการครั้งแรกนาน 6 เดือน จะชี้ชัดว่าคุ ณมีปัญหาท้องผูก ถ่ายได้บ่อยแต่ถ่ายอุจจาระลำบาก นอกจาก อาการข้างต้น หากคุณรู้สึกถ่ายไม่สุด ต้องเบ่งมาก อาจเป็นปัญหาในส่วนที่เกี่ยวกับทวารหนักและการควบคุมกล้ามเนื้อ

ท้องผูกเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

สาเหตุของอาการท้องผูก แบ่งได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

  1. สาเหตุที่เกิดจากโรคทางกาย โรคที่สัมพันธ์กับอาการท้องผูก มีดังนี้
  • เบาหวาน
  • ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ
  • ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง
  • โรคทางระบบประสาทต่าง ๆ เช่น ได้รับบาดเจ็บ หรือมีโรคที่สมองหรือไขสันหลัง โรคพากินสัน

2. สาเหตุจากยาที่รับประทานประจำ ชนิดยาที่สัมพันธ์กับอาการท้องผูก มีดังนี้

  • กลุ่มยาทางจิตเวช ที่พบบ่อย ได้แก่ ยาที่รักษาอาการซึมเศร้า
  • ยาที่ทำให้การบีบตัวของทางเดินอาหารน้อยละ ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ ยาลดการบีบเกร็งของลำไส้ที่ใช้แก้ปวดท้อง และยาแก้แพ้บางชนิด
  • ยากันชัก
  • ยาลดความดันโลหิต
  • ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของ morphine
  • เหล็กที่มีอยู่ในยาบำรุงเลือด
  • ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของแคลเซียม
  • ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs
  • ยาอื่น ๆ เช่น cholestyramine

3. การอุดกั้นของลำไส้ การอุดกั้นของลำไส้ เสี่ยงต่อโรคเหล่านี้

  • มะเร็งหรือเนื้องอกของลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
  • ลำไส้ตีบตัน
  • ลำไส้บิดพันกัน
  • ความผิดปกติที่ทวารหนัก
  • การลดน้อยลงของปมประสาทบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย

4. ลำไส้และระบบขับถ่าย ทำงานผิดปกติ สาเหตุที่ระบบขับถ่ายทำงานผิดปกติ มีดังนี้

  • การบีบตัวของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักไม่ประสานกับการเบ่ง
  • การเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่น้อยกว่าปกติหรือมีการเคลื่อนไหวไม่ประสานกันทำให้อุจจาระเคลื่อนไหวภายในลำไส้ใหญ่ช้ากว่าปกติ
  • ภาวะลำไส้แปรปรวน

นอกจากนี้ การเคลื่อนไหวน้อย , ขับถ่ายไม่เป็นเวลา หรือรับประทานอาหารที่ไม่มีกากใย ก็ส่งผลให้ท้องผูกเช่นเดียวกัน

อาการท้องผูกแบบไหน ที่ควรไปพบแพทย์

แม้อาการท้องผูกจะไม่อันตราย แต่หากคุณมีอาการเหล่านี้ ควรพบแพทย์โดยด่วน เช่น

  1. มีอาการซีดจากขาดธาตุเหล็ก
  2. ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด
  3. น้ำหนักลดผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ
  4. มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 50 ปี
  5. มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
  6. ท้องผูกจนมีอาการของลำไส้อุดตัน (ปวดท้องมาก อึดอัดแน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน)
  7. ท้องผูกรบกวนมาก รับประทานยาระบายแล้วไม่ได้ผล

การดูแลรักษาและบรรเทาอาการท้องผูก

เมื่อมีอาการท้องผูก จะต้องดูแลอย่างไร เรานำเคล็ดลับมาให้ เผื่อช่วงนี้ใครระบบขับถ่ายไม่ดี สามารถนำไปใช้ได้

1.การถ่ายให้เป็นเวลา

การเคลื่อนไหวของลำไส้ที่กระตุ้นให้ร่างกายอยากถ่าย จะเกิดขึ้นวันละ 2 ครั้ง แต่สำหรับคนที่มีอาการท้องผูกเรื้อรัง ร่างกายอาจไม่ตอบสนองต่อความรู้สึกปวดได้ แต่คนทั่วไปที่วางแผนการถ่ายเป็นเวลา จะช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างปกติ และมีประสิทธิภาพ หรือใครที่มีกิจกรรมที่ทำให้ต้องกลั้นอุจจาระไว้แทบทุกววัน ก็จะทำให้มีปัญหาการขับถ่ายลำบากตามมา เนื่องจาก อุจจาระที่ค้างอยู่ในลำไส้นาน ๆ จะใหญ่และแข็งมาก

2.ถ่ายตอนเช้าดีที่สุด

ช่วงเวลาที่เหมาะกับการถ่ายอุจจาระมากที่สุด คือ ในช่วงตอนเช้าและช่วงเวลาหลังอาหาร ดังนั้น ผู้ที่มีอาการท้องผูกควรตื่นแต่เช้าให้มีเวลาเพียงพอต่อการถ่าย อาจลองดื่มนมสักแก้วเพื่อกระตุ้นความอยากถ่าย ไม่ควรเร่งรีบ และให้คิดตลอดว่า ลำไส้จะเคลื่อนที่ทำให้คุณปวดท้องได้ แค่วันละ 2-3 ครั้งเท่านั้น

เมื่อมีปัญหาท้องผูกอย่าละเลย เพราะอาจทำให้คุณท้องผูกแบบเรื้อรัง และกลายเป็นปัญหาที่แก้ได้ยาก อยากขับถ่ายง่าย ช่วยระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ต้องนี่เลย “STC Plus” อาหารเสริมพูลคาว กระชายขาว ตัวช่วยทำให้คุณขับถ่ายได้เป็นเวลามากขึ้น ลดอาการท้องผูก ปรับรูปร่างให้สมส่วน พร้อมช่วยบำรุงร่างกาย และเสริมภูมิคุ้มกัน คนทำงานหรือผู้สูงอายุ สามารถทานได้ ผ่านการรับรอง อย. มาตรฐานการผลิตที่ได้คุณภาพ GMP

สั่งซื้อสินค้าเรียบร้อยแล้ว

คำสั่งซื้อเลขที่