แค่เปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ ช่วยบรรเทาและรักษาอาการกรดไหลย้อนได้

แค่เปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ ช่วยบรรเทาและรักษาอาการกรดไหลย้อนได้

หนึ่งในโรคยอดฮิตของคนวัยทำงาน ที่ใคร ๆ ก็ไม่อยากเป็น คงหนีไม่พ้น “กรดไหลย้อน” นอกจากจะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ยังลดประสิทธิภาพในการทำงาน โดยพฤติกรรมเสี่ยงที่จะกระตุ้นให้เกิดโรคกรดไหลย้อน ได้แก่ กินอาหารที่มีไขมันสูง ดื่มชา กาแฟ หรือสูบบุหรี่ รวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

อีกทั้งใครที่ชอบกินแล้วนอนทันที ต้องระวัง! เพราะอาการของกรดไหลย้อน คือการที่มีกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร จะอยู่กลางหน้าอกไปจนถึงบริเวณคอ ทำให้เกิดการระคายเคือง ใช้ชีวิตลำบากอย่างมาก ดังนั้น ลองทำความรู้จัก และวิธีการรับมือโรคกรดไหลย้อนกัน

กรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD)

กรดไหลย้อน เป็นภาวะที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร ซึ่งเกิดจากกรดในกระเพาะอาหารที่มากเกินไป ส่งผลรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น การอักเสบของหลอดอาหาร แม้จะดูเป็นอาการที่ไม่รุนแรง แต่เป็นอาการที่ทำให้การดำเนินชีวิตไม่สะดวกมากนัก ลองมาดูอาการเบื้องต้นกัน

  • อาการแสบยอดอก เรอเปรี้ยว อาการเหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นถึง 1-2 ครั้ง / สัปดาห์
  • อาการที่พบรองลงมา ได้แก่ อาการกลืนลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน ไอ ระคายคอ
  • กรดไหลย้อนอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บที่หลอดอาหาร จนเกิดการอักเสบและทำให้หลอดอาหารตีบแคบ รวมทั้งทำให้เซลล์เยื่อบุอาหารเปลี่ยนแปลง เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้
แค่เปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ ช่วยบรรเทาและรักษาอาการกรดไหลย้อนได้

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน

กรดไหลย้อนเกิดจากความผิดปกติในการทำหน้าที่ของหูรูด และหลอดอาหารส่วนกลาง รวมทั้งการตีบแคบของหลอดอาหาร อีกทั้งพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่ในการดำเนินชีวิต ยังกระตุ้นให้เกิดการคลายตัวของหูรูด ระหว่างกระเพาะและหลอดอาหารได้ เช่น การทานของมัน หวานจัด เผ็ดจัด หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ นอกจากนี้ ใครที่ชอบกินแล้วนอน หรือมีภาวะอ้วน ก็ทำให้อาการของกรดไหลย้อนเป็นหนักกว่าเดิมได้ แต่ทั้งนี้ หากรักษาสุขภาพ ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตใหม่ พร้อมออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดและบรรเทาอาการของกรดไหลย้อน และช่วยให้คุณกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติอีกครั้ง ต่อไปจะเป็นอาการผิดปกติของกรดไหลย้อน ที่ต้องระวังกัน

อาการผิดปกติที่เกิดจากโรคกรดไหลย้อน

สำหรับอาการผิดปกติของกรดไหลย้อน จะแบ่งเป็นอาการที่เกิดกับหลอดอาหาร , อวัยวะข้างหลอดอาหาร โดยมีอาการดังต่อไปนี้

1.อาการที่เกิดขึ้นกับหลอดอาหารโดยตรง

สำหรับอาการที่เกิดขึ้นกับหลอดอาหารโดยตรง จะเริ่มจากแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ ยอดอก อาจร้าวไปถึงลำคอและช่องปาก บางรายมีอาการเจ็บแน่นกลางอก หายใจไม่โล่ง คล้ายกับอาการของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน แต่ถ้าอาการไม่หนักมาก
จะเป็นแค่เรอบ่อย หรือรู้สึกเปรี้ยวในลำคอ และอาจสำรอกออกมาเป็นน้ำย่อยหรือเศษอาหารได้ รบกวนการทานอาหารอย่างมาก เพราะกลืนลำบาก กลืนแล้วเจ็บ  เหมือนมีอะไรติดอยู่ในลำคอ ส่วนอาการอื่นๆ ทั่วไป เช่น สะอึก คลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกมีน้ำลายมากหรือน้ำลายสอ เป็นต้น

2.อาการที่เกิดกับอวัยวะข้างเคยหลอดอาหาร

เริ่มจากคอหอยและกล่องเสียงอักเสบ เจ็บคอ มีเสมหะมากกว่าปกติ อีกทั้งรู้สึกเหมือนมีอะไรติดอยู่ในลำคอ เสียงจะแหบหรือสำลักง่าย บางคนหนักกว่านั้น มีอาการ ไซนัสอักเสบชนิดเรื้อรัง , ไอเรื้อรัง , อาการหอบหืดทรุดลง และเกิดโรคปอดบางชนิดที่มีความสัมพันธ์กับกรดไหลย้อน เช่น ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง หลอดลมโป่งพอง พังผืดในปอด

ผิวเคลือบฟันสึกกร่อน เป็นต้น เรียกว่าได้อาการข้างเคียงของกรดไหลย้อนค่อนข้างน่ากลัว ถึงเวลาที่เราต้องเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคนี้กัน หรือใครที่เคยเป็นก็ลดความเสี่ยงจะที่กลับมาเป็นซ้ำได้

วิธีป้องกันโรคกรดไหลย้อน

หลายคนมักมองข้ามโรคกรดไหลย้อน เพราะคิดว่าไม่อันตราย แค่กินยาแล้วก็หาย แต่หากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็มีความเสี่ยงที่โรคกรดไหลย้อน จะกลายเป็นโรคเรื้อรัง และค่อยๆ ทำให้ร่างกายป่วยง่าย ดังนั้น ต้องเตรียมตัวสร้างเกราะป้องกันให้ร่างกาย โดยวิธีการ ดังนี้

แค่เปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ ช่วยบรรเทาและรักษาอาการกรดไหลย้อนได้

1.การลดน้ำหนักตัวในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน

งานวิจัยจากต่างประเทศ พบว่า น้ำหนักตัวมีส่วนทำให้อาการของกรดไหลย้อนลดลง และแน่นอนว่าหลายคนทราบดี ว่าโรคอ้วนก็เป็นหนึ่งปัจจัยทำให้อาการของกรดไหลย้อนรุนแรงมากขึ้น เพราะจะเพิ่มความดันในช่องท้อง และหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่าง ทำให้ไม่สามารถต้านแรงดันในช่องท้อง หรือการบีบตัวของกระเพาะอาหารได้นั่นเอง ดังนั้น การลดน้ำหนักและเลือกทานอาหารที่ดีต่อร่างกาย เพื่อยับยั้งการเกิดโรคอ้วน ก็จะสร้างเกราะป้องกันกรดไหลย้อนได้เช่นเดียวกัน

2.หลีกเลี่ยงการนอนทันทีหลังมื้ออาหาร

เข้าใจว่า ภาระงานหนัก กลับมาบ้านก็กินให้อิ่มแล้วเข้านอนได้เลย แม้จะรู้สึกสบายในช่วงแรก แต่นี่คือ พฤติกรรมเสี่ยงที่จะทำให้กรดไหลย้อนเข้ามาทักทายคุณได้ ดังนั้นเมื่อทานอาหารเสร็จ ควรรอให้อาหารเคลื่อนตัวเข้าสู่ลำไส้เล็กก่อน ไม่ควรเอนตัว หรือนอนราบหลังมื้ออาหาร และควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง นอกจากนี้ ควรทานอาหารให้พอดีไม่มากหรือน้อยเกินไป และข้อสำคัญ ต้องเคี้ยวช้าๆ เพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดียิ่งขึ้น

3.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน คาร์โบไฮเดรตสูง

เพราะของอร่อยล้วนมีทั้งไขมัน และคาร์โบไฮเดรตสูง ทำให้หลายคนลดน้ำหนักได้ยาก ยิ่งใครที่ชอบกินอาหารรสดเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด หรืออาหารที่มีมะเขือเทศ หัวหอม หรือใบสะระแหน่ รวมถึงอาหารทอง เนยชีสในเบเกอรี่ต่างๆ สิ่งเหล่านี้เป็นอาหารที่ใช้เวลาย่อยนาน ส่งผลให้อยู่ในกระเพาะอาหารเป็นเวลานาน เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นกรดไหลย้อนขึ้นมาได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องดื่มที่เป็นกรดสูง เช่น  น้ำมะเขือเทศ ชากาแฟ น้ำอัดลม ช็อกโกแลต แอลกอฮอล์ เป็นต้น อาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้ จะเป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งกรดในกระเพาะอาหารออกมามาก และหูรูดหลอดอาหารคลายตัวมากขึ้น วิธีแก้ปัญหาควรหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย และเลือกทานแต่สิ่งที่มีประโยชน์ให้สารอาหารที่ครบถ้วน

แค่เปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ ช่วยบรรเทาและรักษาอาการกรดไหลย้อนได้

 4.หยุดสูบบุหรี่

ข้อนี้สำคัญมาก เพราะสารนิโคตินในบุหรี่จะกระตุ้นให้คุณเป็นโรคกรดไหลย้อนได้ง่ายขึ้น ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ทั้งก่อนและหลังเป็นกรดไหลย้อน เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นมากขึ้น นอกจากนี้บุหรี่ยังเป็นตัวการร้าย ที่ทำให้ร่างกายเกิดโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

5.ควรใส่เสื้อผ้าหลวมๆ

ไม่ควรใส่กางเกงที่รัดหน้าท้องแน่นเกินไป และหลีกเลี่ยงท่าทางที่ต้องก้มตัวเป็นเวลานาน เพื่อบรรเทาไม่ให้อาการของกรดไหลย้อนรุนแรงมากขึ้น และช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6.ในช่วงกลางคืนไม่ควรรับประทานอาหารจุบจิบ

สายกินดึกต้องฟัง! ควรปล่อยให้ท้องว่างประมาณ 2-3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน และควรนอนให้ท่าที่ลำตัวส่วนบ่น ตั้งแต่ศีรษะ ไหล่ ทรวงอก และช่องท้อง สูงกว่าลำตัวส่วนล่างประมาณ 6-10 นิ้ว อีกทั้งการนอนตะแคงซ้ายจะช่วยเสริมให้อาหารของกรดไหลย้อนดีขึ้นได้ซึ่งเป็นท่านอนที่กระเพาะอาหารจะไม่ไปกดหูรูดหลอดอาหาร และช่วยลดโอกาสการมีกรดไหลย้อนเข้าหลอดอาหารได้ ถือเป็นท่านอนที่ดีต่อโรคนี้อย่างแท้จริง ใครที่มีพฤติกรรมกินอาหารตอนดึก แล้วเข้านอนเลย ต้องรีบปรับโดยด่วน ก่อนจะสายเกินไป!

7.ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

เพราะโรคกรดไหลย้อน เป็นโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มของคนรุ่นใหม่ และคนวัยทำงาน รวมถึงคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ซึ่งเราสามารถป้องกันและรักษาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ ตั้งแต่การลดน้ำหนัก เลิกสูบบุหรี่ และเลี่ยงอาหารมื้อเย็นที่ใกล้กับเวลานอน แต่หากใครที่มีอาการรุนแรงควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ เพราะต้องมีการพิจารณายาที่ใช้ในการรักษากรดไหลย้อนตามความรุนแรงของอาการ โดยแพทย์จะปรับขนาดและระยะเวลาในการใช้ให้เหมาะสมของแต่ละคน รวมถึงติดตามอาการที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นได้หลังจากใช้ยาเป็นเวลานาน เรียกว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่ร่างกายจะกลับมาปกติ ต้องใช้เวลารักษาตัวพอสมควร รักษาตัวและเปลี่ยนนิสัยจะดีที่สุด

หวังว่า วิธีการปรับพฤติกรรมที่เรานำมาฝาก จะช่วยให้คนที่มีอาการ ค่อยๆ รู้สึกดีมากขึ้น พร้อมสร้างเกราะป้องกันให้แข็งแรงกว่าเดิม ด้วย STC Plus ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารพลูคาว กระชายขาว สมุนไพรออแกนิก ที่ช่วยรีบูทร่างกายได้ถึงระดับเซลล์ ยิ่งใครที่นอนไม่หลับ จะทำให้หลับได้ลึกขึ้น พร้อมช่วยป้องกันกรดไหลย้อนได้ เพราะ STC Plus มีส่วนผสมของ กระชายขาว มะขามป้อม และเบต้ากลูแคน ที่อุดมไปด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ และมีโปรไบโอติกสูง จากพลูคาวหมักสกัดชีวภาพ ช่วยเสริมสร้างให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ปกติ พร้อมทั้งเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้ เรียกได้ว่าเป็นตัวช่วยดีๆ ที่คุณต้องห้ามพลาด

สั่งซื้อสินค้าเรียบร้อยแล้ว

คำสั่งซื้อเลขที่