7 วิธีแก้ไขปัญหาการนอนหลับของผู้สูงอายุ

7 วิธีแก้ไขปัญหาการนอนหลับของผู้สูงอายุ

เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายก็จะเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ยิ่งในผู้สูงอายุ การทำงานภายในร่างกาย ก็ค่อยๆ เสื่อมประสิทธิภาพลง ซึ่งปัญหาหลักที่คอยกวนใจการใช้ชีวิตของผู้สูงวัย คงหนีไม่พ้น “การนอนหลับ” เพราะผู้สูงอายุเกือบ 90% มักมีอาการนอนไม่หลับ , ตื่นกลางดึก และมีเรื่องเครียดอยู่ตลอดเวลา สาเหตุหลัก ๆ เกิดขึ้นได้หลายอย่าง ทั้งครอบครัว , สภาพแวดล้อม และที่พักอาศัย เราจึงนำวิธีแก้ไขอาการนอนไม่หลับของผู้สูงอายุ มาแนะนำทุกคนกัน

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนอนหลับของผู้สูงอายุ 

การเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดที่สุดของผู้สูงอายุ คือ การหลับที่ไม่มีประสิทธิภาพ นอนหลักลึกน้อยลง ตื่นกลางดึกบ่อยขึ้น ไม่เหมือนกับวัยหนุ่มสาวที่สามารถเข้านอนได้ตรงตามเวลา และปรับตารางนอนได้อย่างรวดเร็ว โดยการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุส่วนหนึ่งมาจากความเสื่อมหน้าที่ของระบบประสาทส่วนกลาง เนื่องจาก กระบวนการของความชรา ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองลดน้อยลง จำนวนเซลล์ประสาทก็ลดลงตาม ส่งผลให้การรับ และส่งกระแสประสาทช้าลง นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลงการหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยส่งเสริมการหลับลดลงตามอายุที่มากขึ้นด้วย

วิธีแก้ไขปัญหาการนอนหลับของผู้สูงอายุ

เรารวบรวมวิธีการแก้ปัญหาการนอนหลับของผู้สูงอายุ ดังนี้

1.การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาในการนอนหลับ เนื่องจาก ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ควรแก้ไขจากการค้นหาสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม เช่น ถ้ามีกลิ่นและแมลงรบกวน ควรทำความสะอาดห้องนอน ห้องน้ำ และซักผ้าปูที่นอนให้สะอาด การปูผ้าปูที่นอนให้เรียบตึงจะช่วยให้นอนสบายขึ้น การปิดม่าน และปิดไฟจะช่วยลดแสงส่องตา อีกทั้งการควบคุมเสียงในช่วงเข้านอนไม่ให้มีเสียงดัง จะทำให้นอนหลับง่ายขึ้น นอกจากนี้  การจัดสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้เหมาะสม และเป็นระเบียบ จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพักผ่อนนอนหลับที่ดีมากขึ้น

2.การรับประทานอาหาร

ต่อด้วยเรื่องของการรับประทานอาหาร ที่ถือว่า เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข โดยวัยปกติของผู้สูงอายุ จะอยู่บ้านกับลูกหลานเป็นหลัก แต่เมื่อลูกหลานออกไปทำงานก็จะมีอาการเหงา ทำให้คุณสามารถทำให้ท่านมีความสุขได้ง่าย ๆ เพียงแค่ร่วมรับประทานอาหารพร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อน เพื่อให้มีการพูดคุยสนทนาอย่างสนุก ซึ่งเป็นการพักผ่อนอย่างหนึ่งในผู้สูงวัย อีกทั้งการรับประทานอาหารอย่างรีบเร่ง หรือรับประทานอาหารจุบจิบไม่เกิดผลดีต่อสุขภาพ ดังนั้น ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และบริโภคให้ครบทุกมื้อ เพื่อให้มีอาหารที่หลากหลายชนิด และหมุนเวียน การได้รับประโยชน์จากสารอาหารต่าง ๆ ครบถ้วน

3.การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง และเป็นกิจกรรมที่เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย โดยผู้สูงอายุที่มีปัญหาการนอนไม่หลับ เป็นเพราะร่างกายไม่เผาผลาญพลังงานที่มีอยู่ให้หมดไป ส่งผลให้พลังงานเหลือเกินความจำเป็น จนทำให้ร่างกายและสมองไม่ได้พักผ่อน ดังนั้น มักจะพบว่า คนที่นั่งโต๊ะทำงานตลอดวัน มักจะเกิดปัญหานอนไม่หลับ ตรงกันข้ามกับคนที่ทำงานกลางแจ้ง หรืองานที่มีการเคลื่อนไหวของสรีระมาก จะมีความเครียดในสมองน้อยกว่า จึงนอนหลับได้ดีกว่า ส่วนการออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้สูงอายุ เช่น การเดิน , การเดินเร็ว , โยคะ หรือแอโรบิคในจังหวะเบา ๆ เป็นต้น

4.การบริหารเวลา

 การบริหารเวลาเป็นการวางแผนเพื่อจัดการใช้เวลาที่มีอยู่คุ้มค่าที่สุด ช่วยให้เกิดความราบรื่นในการดำเนินชีวิต สิ่งสำคัญ คือ นอกจากจะจัดสรรเวลาในการทำงานแล้ว จะต้องจัดสรรเวลาสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจด้วย เพราะร่างกาย และจิตใจที่ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ จะทำให้มีภูมิคุ้มกันสูงในการต้านความเครียด การพักผ่อนอาจทำได้โดยการไปเที่ยวต่างจังหวัด พบปะเพื่อนฝูง ดูภาพยนตร์ หรือมีกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นการผ่อนคลายในวันหยุด การดูแลตนเองในชีวิตประจำวันก็เป็นการพักผ่อนได้ เช่น การขัดตัวขณะอาบน้ำ การออกกำลังกาย การทำงานอดิเรกที่ตนเองชอบ เป็นต้น

7 วิธีแก้ไขปัญหาการนอนหลับของผู้สูงอายุ

5.การเปลี่ยนแปลงจิตใจหรือความคิดตนเอง

ผู้สูงอายุมักมีอารมณ์ที่แปรปรวน และต้องการให้ลูกหลานดูเแลเอาใจใส่ เพื่อช่วยคลายความเหงา และความกังวลจากการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งยังเก็บเรื่องเก่ามาคิดตลอดเวลา ทำให้เกิดปัญหาการนอนหลับ เทคนิคง่ายๆ คือ ผู้สูงวัยควรเปลี่ยนแปลงจิตใจ หรือความคิดตนเอง เพื่อนำไปสู่การปลดปล่อยความหงุดหงิด และช่วยให้การนอนหลับมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งลดปัญหาการตื่นกลางดึก และไม่สามารถนอนหลับต่อได้ นอกจากนี้ อาจใช้การนั่งสมาธิ หรือฟังธรรมะเพื่อช่วยให้จิตใจสงบ และลดเรื่องเครียด ๆ ได้นั่นเอง

6.การลดความเครียดก่อนนอน                

เทคนิคการลดเครียดก่อนนอน ไม่ยาก เริ่มจากการผ่อนลมหายใจ เริ่มจากหายใจเข้าทางจมูก 1-5 ในใจ จากนั้น ปล่อยลมหายใจออกทางปากช้า ๆ ในระหว่างนั้นนับ 1-10 ในใจ จะช่วยให้จิตใจสงบขึ้น วิธีต่อมา คือการทำมือให้อุ่น เมื่อเครียดมือมักจะเย็น การทำมือให้อุ่นจะสามารถลดความตึงเครียดลงได้ ก่อนนอนควรเอามือแช่ในน้ำอุ่นสักครู่ จะทำให้หลับได้ง่าย และสบายขึ้น ข้อระวังไม่ควรใช้น้ำร้อนเกินไป สุดท้าย คือ การนวดเท้าคลายเครียด กดเบา ๆ บริเวณรอยต่อกระดูกนิ้วเท้าข้อที่ 1 และข้อที่ 2 สิบครั้ง อาจใช้ให้ลูกหลานช่วยนวดในจุดนี้ได้

7.ลดการกินยาเมื่อปวดศีรษะ

ผู้สูงอายุเมื่อประสบปัญหานอนไม่หลับ ไม่ควรพึ่งยา เพราะจะสร้างผลเสียต่อการทำงานในอวัยวะภายใน ควรใช้กระเป๋าน้ำร้อน หรือขวดใส่น้ำร้อนประคบบริเวณท้ายทอย แล้วใช้ความเย็นประคบที่หน้าผาก จะช่วยให้อาการทุเลาลงได้ แต่ถ้าเป็นอาการที่เกิดจากกล้ามเนื้ออักเสบ หรือเอ็นอักเสบให้ใช้กระเป๋าน้ำแข็งประคบ ตั้งแต่คอลงมาจนถึงหัวไหล่ ในวันแรกเพื่อลดความอาการอักเสบ และใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบในวันต่อ ๆ มา จะช่วยให้คลายปวดได้ เป็นต้น จัดเป็นวิธีที่ดีต่อสุขภาพ มากกว่าการใช้ยาลดปวด

สำหรับผู้สูงอายุท่านใด ที่มีปัญหาการนอนหลับ และอยากได้ตัวช่วยดี ๆ ที่จะทำให้ให้นอนหลับได้ลึกขึ้น พร้อมทั้งพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ เราขอแนะนำ STC Plus อาหารเสริมพลูคาว กระชายขาว เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ ไม่เป็นผลเสียต่อร่างกาย ช่วยบำรุงภายใน ทำให้ทำงานได้ดีขึ้น ลดปัญหาการนอนหลับ ช่วยให้พักผ่อนได้เต็มประสิทธิภาพ ทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีแบบที่ต้องการได้ง่ายๆ จัดเป็นตัวเลือกเพื่อสุขภาพ ที่ผู้สูงวัยควรลองอย่างแท้จริง นอกจากนี้ สินค้ายังได้รับประกันคุณภาพ พร้อมการันตีจากผู้ใช้จริง ว่า STC Plus ทำให้หลับง่ายขึ้น

STC Plus ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารพลูคาว กระชายขาว

สั่งซื้อสินค้าเรียบร้อยแล้ว

คำสั่งซื้อเลขที่